top of page

เราเข้าใจ "ดนตรี" จากร่างกายได้อย่างไร ?

  • Writer: chamamaskae
    chamamaskae
  • Sep 10, 2019
  • 1 min read

Updated: Apr 16, 2020

เคยมั้ย ? เจอเพลงที่สนุกจนหยุดเคาะเท้าไม่ได้ เพลงที่เศร้าก็ดูจะเรียกน้ำตาเหลือเกิน เพลงนิ่งมากๆถ้าเข้าไม่ถึงนี่ก็หลับได้เหมือนกันนะ เสียงดังเปรี้ยง! นี่ก็ตกใจทุกที ได้ยินกี่ทีไม่เคยชิน หรือเงียบมากไปใจมันก็หวาดระแวงไปหมด หรือฝนตกนี่ถือเป็นดนตรีได้หรือเปล่านะ? บางครั้งได้ยินนานๆมันก็หวนคิดถึงเรื่องราวในอดีตเหมือนกัน ขอเก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ก่อน เพราะมันคือเกือบปลายทางหรือผลลัพธ์ของความรู้สึกทั้งสิ้น ถ้าเป็นเช่นนั้นย้อนกลับไปข้างหน้าเสียหน่อย มันเกิดอะไรขึ้นกันนะ ในหนังสือบอกว่าการที่เรารับรู้และรู้สึกอะไรได้สักอย่างเนี้ยมันถูกเรียกว่า "จิตวิเคราะห์" ที่ประกอบไปด้วย


ความรู้สึก ---> การรับรู้ ---> ความรู้ความเข้าใจ


ความรู้สึกเกิดที่จิตใจ ประกอบไปด้วยประสบการณ์ต่างๆที่เราพบเจอ

การรับรู้ คือจุดกึ่งการระหว่างการป้อนข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางกายภาพ

ความรู้ความเข้าใจ คือผลลัพธ์จากการตระหนักคิด


ถ้าเราตั้งโจทย์ว่า "เราเข้าใจได้อย่างไร ? " ก็จะอยู่ที่ว่า "เรารับรู้จากอะไร ?"

การรับรู้มีสิ่งใหญ่ๆได้แก่ การรับข้อมูลและ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่ง คุณสมบัติทางกายภาพ ก็นำไปสู่การรับรู้แง่มุมต่างๆของเพลงเช่นท่วงทำนองของเพลง จังหวะ และการแสดงออก ซึ่งในแต่ละอย่างก็ล้วนมีองค์ประกอบเล็กๆโดยทั้งสิ้น เช่น ความถี่ของเสียง ยิ่งสูงก็ยิ่งเข้าถึงการรับรู้ได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกับความสามารถของการฟังก็ผันแปรไปตามอายุ หรือ วรรณยุกต์ ภาษาที่มีวรรยุกต์ก็เหมือนดนตรีที่มีระดับเสียงค่อนข้างหลากหลาย ในวิกิพีเดียให้ความหมายของคำว่า วรรณยุกต์ไว้ว่า


"วรรณยุกต์ หรือ วรรณยุต (อังกฤษ: tone) หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่ง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง"


วรรณยุกต์เปลี่ยนเสียงเปลี่ยน ความคุ้นเคยเปลี่ยน ความหมายเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า การออกเสียงต่าง รูปปากเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหมายต่าง เมื่อภาษามีคำมาก ความหมายก็เป็นสิ่งที่ตามมา นักดนตรีส่วนมากเชื่อว่าเพลงมีประโยคเหมือนกับภาษาพูด แต่ถ้าลองคิดอีกทีมนุษย์เป็นผู้สร้างดนตรี หากเราคิดในมุมกลับกัน เราสักประโยคพูดพร้อมลมหายใจ และความหมาย เมื่อจบเนื้อความ หรือประโยคยาวไปเราก็จะเว้นวรรค หรือนี้คือที่มาของประโยค คำบางทีก็บ่งออกความรู้สึก บ่อยครั้งที่เราจะขยายคำว่า "กว้าง" ที่มากกว่าคำพูด


Comentários


bottom of page