top of page

Potpourri

           Once nature was born, Flowers are blooming with their fragrance. When sunshine touches the flowers, they grow yet they burn at different times, makes me think of stories of human growth that inevitably comes and goes in one day. Is it common for humans to always think of the past when they are in the present? When wilted flowers shriveled man delicately, flavored taste and aroma of dried flowers are replaced by the smell of their absence over time. Popularly known as Potpourri.

          Potpourri is one of the names of the repertoire that I will raise and is the emergence of the whole story The method of the compact series are interpreted through events and stories written about them in the next two compositions which will take you on a journey and get to know the story and experience of Potpourri from my perspective.

              ครั้นหนึ่งธรรมชาติถือกำเนิด ดอกไม้ล้วนผลิบาน ส่งกลิ่นหอมเฉพาะตัวของดอกไม้นั้น เมื่อดอกไม้ได้รับแสงอาทิตย์สาดส่อง เติบโตและแผดเผาในเวลาที่ต่างกัน ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงเรื่องราวการเติบโตของมนุษย์ ที่ย่อมมีเกิดและดับลงในสักวันหนึ่ง เป็นธรรมดาที่มนุษย์มักจะหวนคิดถึงอดีตเสมอเมื่อพวกเขาอยู่ในเวลาที่เป็นปัจจุบัน? เมื่อดอกไม้แห้งเหี่ยว ร่วงโรย มนุษย์บรรจงปรุงแต่งรูปรสและกลิ่นของดอกไม้แห้งเหล่านี้ด้วยการแทนที่กลิ่นของดอกไม้ที่หายไปตามกาลเวลา เรียกขานในนาม พอทพัวรี (potpourri)

 

              ผู้คนบรรจงคัดเลือกดอกไม้ในสวน บ้างก็เพื่อจัดวางลงในโถแก้ว หรือนำไปประดับบนแจกัน ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ดอกไม้ก็คือดอกไม้ สิ่งที่แตกต่างคือการจัดวางของผู้คนเหล่านั้นต่างหาก จากแนวคิดดังกล่าวทำให้ข้าพเจ้าพบว่า การจัดวางงานประพันธ์ของในบทประพันธ์ Potpurri ผลงานลำดับที่ 94 ของ โยฮันน์ เนโพมุค ฮุมเมล (Johann Nepomuk Hummel) ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์ด้วยการหยิบยืมองค์ประกอบทางดนตรีจากบทประพันธ์อันเลื่องชื่ออย่าง ดอน จิโอวานี (Don Giovani) ของโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) มาใช้ในบทประพันธ์ชิ้นนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการบรรจงรรจงคัดสรรดอกไม้ลงในโถแล้วเลือกจัดวางจากมุมมองของเขา

 

              วันแล้ววันเล่า… แสงอาทิตย์ วันเวลา ได้พรากความสดใสและกลิ่นหอมของดอกไม้ในโถเหล่านั้นหลือไว้เพียงอดีต... แต่ถึงกระนั้นแสงอาทิตย์มันแผดเผาอย่างเดียวเสียเมื่อไหร่? ครั้งหนึ่งแสงธรรมชาติกลับเป็นตัวแทนแห่งความสว่างสไวในภาพจำครั้งหนึ่งของชีวิต โรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann) ในจดหมายที่เขียนถึงผู้เป็นแม่ของเขาในปี 1830

              บทประพันธ์ Märchenbilder คือบทประพันธ์ในช่วง 5 ปีสุดท้ายก่อนเขาเสียชีวิต บทประพันธ์ชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลในจากนิทานกริมม์ (Grimm) 3 เรื่อง โดยหนึ่งในสามเรื่องนี้คือ ราพันเซล (rapunzel) ชื่อที่มีที่มามาจาก Rapunculus Campanula ดอกไม้ชนิดหนึ่งที่พี่น้องตระกูลกริมม์ โรเบิร์ต ชูมันน์  หยิบยกนิทานเรื่องดังกล่าวสู่แรงบัลดาลใจ อารมณ์ที่อ่อนไหวและจินตนาการอันแรงกล้าของเขาคือแสงที่เขาเอ่ยถึงในจดหมายเมื่อหลายปีก่อน แม้สุดท้ายแสงนั้นจะแผดเผาตัวของเขาเอง เห็นจากบทประพันธ์ชิ้นนี้ของเขาในท่อนสุดท้ายผ่านความบันดาลใจจากนิทานเรื่องเจ้าหญิงนิทรา ที่ดูท่าทีแล้วเจ้าหญิงคงมิอาจฟื้นขึ้นมา คล้ายคลึงกับ พอทพัวรี ที่หลับไหลอยู่ในโถเช่นเคย

 

                เรื่องราวที่ถูกนำมาเล่าใหม่ เช่นเดียวกับดอกไม้ในโถใบเดิม พอทพัวรี ผ่านการให้ความหมายใหม่ด้วยการปรุงแต่งกลิ่นโดยมนุษย์เพื่อทดแทนสิ่งที่หายไปในอดีต บทประพันธ์เพลงที่มีการ การทำใหม่ จากองค์ประกอบเดิม ๆ พร้อมกันกับการให้ความหมายจากผู้บรรเลงดนตรีนั้น เห็นทีว่าจะเกิดขึ้นได้ในทุกวัน ราวกับบทประพันธ์ โรมานซ์ ในบันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ ของแม็กซ์ บรุค (Max Bruch) ที่เขาได้บรรจงประพันธ์ขึ้นโดยตั้งใจโดยอุทิศให้นักวิโอลา วิลลี เฮส (Willy Hess) เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานชิ้นนี้ นักวิโอลาหลายต่อหลายคนได้นิยามความหมายผ่านการบรรเลงและการตีความตามแต่ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน หวนให้นึกถึงพอทพัวรี ที่ถูกทำซ้ำแล้วซ้ำอีกในหลายชนชาติที่ล้วนแตกต่างกันในรูปและกลิ่น ในการแสดงครั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำเสนอบทประพันธ์เพลงชิ้นนี้ของ บรุค โดยการให้ความหมายและมุมมองจากประสบการณ์ของข้าพเจ้า.

 

J. N. Hummel: Potpourri Op.94 “fantasie”

 

R. Schumann: Märchenbilder, Op.113

I.Nicht schnell

II.Lebhaft

III.Rasch

IV.Langsam

 

M. Bruch: Romance in F major for Viola and Piano, Op. 85

bottom of page