top of page
"Potpourri" 

        "Potpourri" คือดอกไม้แห้งยามเมื่อมันออกจากดิน โดนแสงแดดแผดเผาวันแล้ววันเล่า ผ่านเวลา และบรรจุลงในโถเติมกลิ่นเพิ่มเติมเพื่อทดแทนกลิ่นที่จากไปเช่นเดียวกับความเหี่ยวเฉาของดอกไม้ Potpourri เดินทางผ่านช่วงเวลาและแปรสภาพจากสิ่งมีชีวิตสู่การดัดแปลงเพื่อสนองความต้องการ ความสวยงาม และความปราณีต หญิงสาวในชุดสีดำบรรจงเด็ดกลีบดอกไม้จากดอกไม้ดอกใหญ่ลงในถาดเพื่อแปรสภาพให้กลายเป็น potpourri ภาพนี้ถูกรังสสรค์โดยจิตกรชาวอังกฤษในช่วงปี 1897 potpourri กลายเป็นเครื่องหอมที่ได้รับความนิยมในหลากหลายประเทศและมีลักษณะของดอกไม้ที่แตกต่างกันไป แต่มีขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน ดังเช่นในเมืองไทย potpourri ถูกเรียกขานในชื่อ "บุหงา" เครื่องหอมที่ในปัจจุบันนิยมแจกเป็นของชำร่วยมากกว่านำมาประดัในบ้านหรือในตู้เสื้อผ้าดังเช่นสมัยก่อน 

Pot-Pourri.jpg
800px-schiele_-_bildnis_des_komponisten_

"Potpourri" ในความหมายของดนตรี สำหรับฉันคือลักษณะดนตรีที่แตกต่างจากเพลง sonata หรือ Concerto ตรงที่ Potpourri นั้นมีการผสมผสานบางช่วงมาจาก Opera หรือเพลงเต้น เพลงอื่นๆที่ตัวcomposerได้หยิบใช้ขึ้นมาผสมผสานกับเพลงที่เราได้รังสรรค์ขึ้น เพื่อให้เพลงมีสีสันเพิ่มเติม อย่างในการแสดงครั้งนี้ Hummel ไม่เพียงแต่หยิบยกสิ่งที่เขารังสสรค์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้เพิ่มเติมบางส่วนในโอเปร่าสุดเลื่องชื่อ "Don Giovani" ของ Mozart มาด้วย "Potpourri" เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการและถูกบันทึกเป็นครั้งแรกในฝรั่งเศสโดย Christophe Ballard  ในปี 1711 เป็นต้นมา และหากมองลงมาตามแผนที่โลกความนิยมนี้ Potpourri ได้เดินทางลงมาทางตอนใต้เข้าสู่อิตาลี โดยนักกีตาร์มือฉมังชาวอิตาเลียน ได้นำเพลงสไตส์นี้มาใช้และแต่งเพลงduetสำหรับกีตาร์ขึ้นมาหลายเบอร์ นอกจากนี้ยังมีนักประพันธ์อีหลายท่านที่แต่งเพลงโดยใช้สไตส์เพลงที่เรียกว่า Potpourri อาทิเช่น Louis Spohr นักประพันธ์ชาวเยอรมัน, Johann Strauss นักประพันธ์ชาวออสเตรีย, Ernst Krenek นักประพันธ์ชาวเชค, Georges Bizet นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส, John Philip Sousa นักประพันธ์ชาวอเมริกัน, Giacomo Meyerbeer นักประพันธ์ชาวยิว, André Rieu นักประพันธ์ชาวดัตช์ และ Karol Kurpinsk นักประพันธ์ชาวโปแลนด์เป็นต้น

Arnold  Schoenberg (1971) by Egon Shiele

Painting of a woman making potpourri (1897)

by Herbert James Draper

 

"If music is frozen architecture, then the potpourri is frozen coffee-table gossip... Potpourri is the art of adding apples to pears..."

Arnold Schoenberg: "Glosses on the Theories of Others" (1929), See "Style and Idea", Faber and Faber 1985, p. 313–314

          Schoenberg นับว่าเป็นนักประพันธ์ที่เขียนคำอธิบายเกี่ยวกับ Potpourri ได้น่าสนใจ เขามอง potpourri ในบริบทของการประกอบร่วม การซุบซิบบนโต๊ะกาแฟ หรือลูกแพร์และแอปเปิ้ล มากกว่ารสชาติโดยตรงของกาแฟ หรือองค์ประกอบหลักในงานศิลปะ 

          สำหรับฉันแล้ว Potpourri ล้วนคือการประกอบกันของอะไรหลายๆอย่างในขั้นตอนและสิ่งที่เกี่ยวข้อง หากเราลองพินิจและใส่ใจที่จะมองรายละเอียดให้ลึกซึ้งขึ้นในแต่ละขั้นตอน เราก็จะเห็นการประกอบร่วมของอะไรหลายๆอย่างตั้งแต่แสงแดดที่แผดเผา วันเวลาที่ผันผ่าน นำมาสู่การรังสรรค์แบบสไตส์ดนตรีที่นำขอลเก่าบางส่วนที่ผู้ประพันธ์หยิบยกมาใช้ประกอบร่วมกับงานประพันธ์ของเขาเอง มากกว่าจะมองว่ามันคือดอกไม้แห้งอันแสนดาษดื่นหรือเพลงที่มีบางส่วนถูกคัดลอกมาจากนักประพันธ์คนอื่น.

bdd4afb17032aef22884f730a7421c8a.jpg
bottom of page