top of page

กรณีศึกษาบุคคลทั่วไป

  • Writer: chamamaskae
    chamamaskae
  • Dec 25, 2020
  • 1 min read


การฟังเพื่อการพัฒนาเยาชนของสสส.

ปัจจุบันยังมีการศึกษาและนำเสนอแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการฟังในเยาวชน ดังเช่นในกรณีสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยสสส. ที่ได้จัดทำคู่มือเคล็ดลับปรับพฤติกรรมสร้างนิสัยใหม่ให้ลูก รวมทั้งได้กล่าวการฟังว่าเป็นหนึ่งในวิธีที่จะสร้างให้ลูกเป็นนักคิดวิเคราะห์ โดยสิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ฟังอย่างเดียว ด้วยความตั้งใจ ใช้สติ ไม่ใช้อารมณ์ ไม่แทรกแซงในขณะที่ลูกกำลังเล่า แต่คล้อยตามด้วยท่าทาง ซึ่งลูกต้องสบายใจที่จะเล่าไมใ่ช่เพราะโดนกดดันหรือกล่าวโทษ

  2. ฟังแล้วพูดอย่างมีสติ เมื่อฟังเรื่องราวมาสักพัก อาจมีการทวนคำพูดหรือมีการให้ กำลังใจเพื่อให้ลูกอยากเล่าต่อ

  3. ฟังอย่างมีสติ พูดให้กำลังใจอย่างมีสติ สร้างทักษะไปด้วยกัน เพื่อให้ลูกสบายใจ ที่จะเล่าต่อกัน เกิดการเรียนรู้ ฝึกคิด ฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาแบบสบายใจ(ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ)

ผัสสะและสุนทรียภาพโดยนายแพทย์โกมาตรเพื่อการเรียนรู้และสุขภาวะที่ดี

นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้กล่าวถึงในเรื่องของการฟังในฐานะของการเป็น ผัสสะหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถรับรู้และรู้สึกถึงสุนทรียภาพ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในสังคมสมัยใหม่ การฟังถูกถูกครอบงำโดย ‘การเห็น’ ทำให้เราซึ่งเป็นญาณวิทยาของการมองโลกแบบหนึ่ง ในบางสังคม โดยเฉพาะในวัฒนธรรม ดั้งเดิม ‘เสียง’ และ ‘การได้ยิน’ อาจมีความสำคัญ อาจพูดได้ว่า ปัจจุบันเราใส่ใจกับเสียงรอบตัวน้อยลง ซึ่งหากเราสามารถฝึกฝนทักษะในการพัฒนาให้ผัสสะของเราทำงานได้อย่างเต็มที่และสัมพันธ์กับโลกได้ดี และมีทักษะในการที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกได้อย่างมีความละเอียดอ่อนมากขึ้น มีความละเมียดละไมมากขึ้น มีชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งเท่ากับเราก็จะสามารถมีสุนทรียภาพ และจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี เนื่องจากเราสามารถที่จะรับรู้สิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเราได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น


กุมารแพทย์ดร. ไบรอัน แซท (Dr. Brian Satt)จัดทำ “ A Sound Beginning” ให้ฝึกฝนการสอนพ่อแม่ที่มีครรภ์ว่าจะใช้ประโยชน์จากการสัมผัสกับลูกตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้อย่างไรโดยการร้องเพลง“ Womb Songs” หรือเพลงใด ๆ ที่พ่อแม่สบายใจที่จะร้องให้ลูกน้อยก่อนคลอดเพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและสบายใจในระยะเวลาที่เขากำลังได้รับกระบวนการเรียนรู้



อ้างอิง: ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เคล็ดลับปรับพฤติกรรมสร้างนิสัยใหม่ให้ลูก. Sook Publishing, 27 กันยายน 2560.

สถาบันอาศรมศิลป์. เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต | ‘ชีวิต คือ โอกาสของการเรียนรู้’ : นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, 18 ธันวาคม. 2561, https://www.arsomsilp.ac.th/lifeislearning-komart/. สืบค้นวันที่ 6 พฤษภาคม 2563.

Here Where We are, อ้างอิงจากหนังสืออีกที หน้า 7

Comments


bottom of page