การพัฒนาการของหูมนุษย์
- chamamaskae
- Dec 25, 2020
- 1 min read
Updated: Dec 27, 2020
ชีววิทยาของการฟัง
หูของมนุษย์มีการพัฒนาในแง่ของการรับรู้ ยูวัล โนอาห์แฮรารี กล่าวว่า “ความสามารถในการรับรู้ของเรายังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของดีเอ็นเอ” หากหูและตาคือองค์ประกอบในการรับรู้ ประสาทสัมผัสของเราอยู่ภายใต้พันธุกรรมที่ถ่ายทอดกันต่อมาทั้งในเรื่องความเชื่อมโยงในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก

การรับรู้และ ความรู้สึกส่งผลต่อจังหวะในการเต้นของหัวใจ มนุษย์เรารับรู้ถึงการเต้นของหัวใจ Michael Stocker กล่าวว่า การเต้นของหัวใจเป็นตัวกำหนดจังหวะของชีวิตก่อนคลอด - เสียงที่จะเต้นและดังก้องอยู่ในตัวเราตลอดชีวิต ความผูกพันทางหูกับหัวใจของแม่ทำให้เราใกล้ชิดกับเธอตั้งแต่ยังเป็นทารก ในตัวอย่างนี้ เสียงแสดงให้เห็นถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก นอกเหนือไปจากการรับสารอาหารผ่านทางสายสะดือ ทารกยังเชื่อมโยงกับแม่ผ่านเสียงของหัวใจ ในช่วงเวลาที่อาศัยอยู่ในครรภ์และเจริญเติบโต
Daniel Barenboim ผู้เขียน Everything is connected กล่าวว่า “หูเข้ามามีบทบาทในชีวิตของทารกในช่วงเวลาวันที่สี่สิบห้าของการตั้งครรภ์ ซึ่งหูจะช่วยการมองเห็นแทนตาล่วงหน้าเป็นเวลาเจ็ดเดือนครึ่ง แต่ในสังคมของเราหลังคลอดทารกหูมักถูกละเลยและความสนใจจะมุ่งเน้นไปที่ดวงตาเกือบทั้งหมด เราอยู่ในสังคมแห่งภาพเป็นหลัก พอเข้าสู่วัยเด็กแล้ว เด็กมักจะตระหนักถึงสิ่งที่เขาเห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่สิ่งที่เขาได้ยิน” การอยู่ร่วมกันในสังคม “ดวงตา” เป็นอวัยวะที่เสริมการรับรู้ในแง่ของ “ภาพ” ที่ไม่ใช่ “มโนภาพ” แต่เป็นภาพที่สามารถสร้างความเข้าใจตรงกันสำหรับคนที่มีความสามารถในการมองเห็น เช่นการระบุถึงสีและรูปร่างลักษณะอย่างตรงไปตรงมา แต่สำหรับหูนั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการฟังเพื่อสร้าง “ภาพ” หรือ “มโนภาพ” ตามประสบการณ์ของผู้รับรู้
การทำงานของหูมนุษย์
หูทำหน้าที่ในการรับรู้เสียงที่เกิดขึ้นและการสะท้อนเข้าในรูปแบบของคลื่นเสียง Kate Murphy กล่าวถึงกระบวนการการเดินทางของเสียงว่า “เมื่อคลื่นเสียงมาถึงหูของเรา อากาศที่ถูกบีบอัดจะถูกส่งลงไปตามส่วนนอกของหูที่เป็นเนื้อแข็ง ๆ ซึ่งเรียกว่า ใบหู ซึ่งทำให้ความดันเสียงเพิ่มขึ้นถึง 20 เดซิเบลเมื่อเสียงเดินทางเข้าไปในช่องหูของเรา ที่สุดปลายของช่องหูเข้าไปในศีรษะของเราประมาณครึ่งนิ้ว คลื่นเสียงจะปะทะเข้ากับเยื่อแก้วหู สรมุกโปร่งใสสวยงามซึ่งสั่นกระเทือนอยู่ใกล้ๆ ที่มีชื่อเรียกว่า ค้อน ทั่ง และ โกลน จากตรงนั้นคลื่อนเสียงจะหมุนวนไปรอบ ๆ คอเคลีย ที่เต็มไปด้วยของเหลวซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกับเปลือกหอยทาก [คำว่า คอเคลีย (Cochlea) เป็นภาษากรีก แปลว่า หอยทาก] ด้านในของคลอเคลียเต็มไปด้วยเซลล์ขนจิ๋ว ๆ แต่ละเซลล์จะรับความถี่ที่แตกต่างกันไป ขนแต่ละเซลล์คือกลุ่มขนสั้น ๆ ที่เรียกว่า สเตอริโอชิเลีย โดยแต่ละเส้นจะมีความกว้างเท่ากับช่วงคลื่นแสงที่เล็กที่สุดที่มองเห็นได้ เมื่อคลื่นเสียงกระตุ้นให้เส้นใยเหล่านี้โบกไปมา มันจะกระตุ้นปลายประสาทให้เริ่มต้นกระบวนการทางความคิดและอารมณ์ในทุกรูปแบบ” เสียงเดินทางผ่านในรูปแบบของคลื่นก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่หู โดยสมองรับหน้าที่ในการประมวลผลเสียงนั้น ๆ โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่แตกต่างกันของผู้ฟัง เมื่อนั้นการรับรู้ถึงเสียงได้เกิดขึ้น
อ้างอิง: ประวัติศาสตร์และชีววิทยา, P.71
Michael Stocker, Cultural and Gender Distinctions, P.6
Comments