การฟังคืออะไร
- chamamaskae
- Dec 25, 2020
- 1 min read
Updated: Dec 27, 2020
อริสโตเติลกล่าวว่าดวงตาเป็นอวัยวะของการล่อลวงและหูเป็นอวัยวะของการสั่งสอน หูไม่เพียงแค่รับเสียงเท่านั้น แต่ส่งตรงไปยังสมองสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์; กระบวนการทางร่างกายและการรับรู้ในการได้ยินที่เกิดขึ้นโดยไม่ผิวเผิน แต่ก็ไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าปรากฎการณ์ที่เราเรียกกันว่า “ตาดูหูฟัง” เป็นเรื่องที่มาคู่กันในช่วงชีวิตและการรับรู้ของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา หนังสือ“ On Sense and the Sensible” ของอริสโตเติลได้กล่าวถึงมุมมองในการได้ยินในเชิงการเรียนรู้ว่า “การมองเห็นซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปทานสำหรับความต้องการหลักของชีวิตและในผลโดยตรงเป็นความรู้สึกที่เหนือกว่า แต่สำหรับการพัฒนาสติปัญญาและผลทางอ้อมการได้ยินมีความสำคัญกว่า…. สำหรับวาทกรรมที่เป็นเหตุเป็นผลเป็นสาเหตุของการสั่งสอนโดยอาศัยอำนาจของมันที่ได้ยินได้ซึ่งมันเป็นไม่โดยตรง แต่โดยอ้อม เนื่องจากประกอบด้วยคำและแต่ละคำเป็นสัญลักษณ์ทางความคิด ดังนั้นคนที่สิ้นเนื้อประดาตัวตั้งแต่กำเนิดคนตาบอดก็ฉลาดกว่าคนหูหนวกและเป็นใบ้”

เฮเลน เคลเลอร์ (Helen Keller) นักเขียนชาวอเมริกันผู้สูญเสียการได้ยิน กล่าวว่า "ฉันหูหนวกพอ ๆ กับที่ตาบอด...การไม่ได้ยินเสียงคือชะตากรรมที่เลวร้ายกว่ามาก เพราะมันหมายถึงการสูญเสียตัวกระตุ้นที่สำคัญที่สุดไป นั่นคือเสียงที่นำมาซึ่งภาษาปลุกเร้าความคิด และทำให้เราคบค้าสมาคมทางปัญญากับมนุษย์ได้" มุมมองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการฟังไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการรับรู้เท่านั้นแต่ยังต่อยอดไปถึงองค์ความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาตน ไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในบทบาทหนึ่งในการอยู่ร่วมกันในสังคม
อ้างอิง: Daniel Barenboim, listen&hearing, Everything is connected, P….
Aristotle. [1931]. On Sense and the Sensible. Ryan. J. I. Beare. Adelaide: University of Adelaide Press. Reprint: e-book
Comments