ทฤษฎีว่าด้วยการฟัง
- chamamaskae
- Dec 25, 2020
- 1 min read
Updated: Dec 27, 2020
การศึกษาเรื่องการฟัง
การให้ความรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับเสียงนั้น William A. Yost ได้เขียนไว้ในหนังสือFundamentals of Hearing an introduction ในบทว่าด้วยเรื่องของประวัติย่อเกี่ยวกับการฟัง (Brief history if the study of hearing) ไว้ว่า “ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 และ 1900 นักฟิสิกส์เช่น Gustav Fechner, Lord Rayleigh และ Herman Ramon y Cajal และ Johannes Muller ได้ทำการทดลองที่สำคัญและเสนอทฤษฎีที่สำคัญซึ่งมาจากพื้นฐานของสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับการได้ยินในปัจจุบัน”

ในปี 2007 อ็อตโต ชาเมอร์ (Otto Scharmer) ผู้คิดค้นทฤษฎีการฟังและเขียนหนังสือในชื่อ Theory U นำเสนอทฤษฎีการฟัง 4 ระดับที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการสื่อสารที่คนในปัจจุบันมักจะฟังเพียงแค่ “เสียง” แต่ไม่เคยฟัง “น้ำเสียง” ในขณะที่เกิดการสนทนา
ทฤษฎีตัวยู (Theory U) หรือการฟัง 4 ระดับ
1. ระดับแรก Downloading ฟังแบบดาวน์โหลด คือรู้แล้ว เอาความรู้ในอดีตเข้ามาอธิบาย
2. ระดับที่สอง Factual ฟังมากขึ้นหน่อยแต่ก็ยังเช็คกับเหตุผลของตัวเองอยู่ ถูกหรือไม่ถูก ฟังเพื่อโต้แย้ง ฟังเพื่อตอบ ไม่ได้ฟังเพื่อเข้าใจ เป็นการ debate คือฟังมากขึ้นแต่เต็มไปด้วยเงื่อนไข ถ้าไม่ถูกก็จะโต้กลับและตั้งคำถาม 3. ระดับที่สาม Empathetic ฟังลึกลงไปหน่อยแต่จะไม่อยู่กับเหตุผลแล้ว แต่ฟังเพื่อหาความรู้สึก เพราะความรู้สึกสะท้อนสิ่งที่เค้าให้คุณค่า ทำไมเค้าพูดเรื่องนี้ อะไรมันมีคุณค่าสำหรับเค้า 4. ระดับที่สี่ Generative ระดับลึกที่สุด การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว เหมือนเป็นคนเดียวกัน เข้าไปนั่งอยู่ในใจ สัมผัสได้ เข้าใจถึงสิ่งที่เขาให้คุณค่า ได้รับผลจากการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง เช่น รู้สึกสั่นสะเทือน พองโต ทราบซึ้ง ไม่ได้หมายความว่าเราจมอยู่กับอารมณ์ของใครอีกคน แต่ว่าเข้าใจมากกว่าแค่ความคิด เป็นการฟังเพื่อค้นหาตัวความเป็นไปได้ใหม่ๆ ตัวตนใหม่ๆ หรือภาพในอนาคตที่ต้องการให้ปรากฏ
-------------------------------------
หนังสือฟังสร้างสุข: Listen with Your Heart กล่าวถึงการฟังกับการสื่อสารผ่านกฎ 7-38-55 ของศาสตราจารย์อัลเบิร์ต เมห์ราเบียน (Albert Mehrabian) ได้ดล่าวถึงข้อมูลแต่ละส่วนมีผลต่อการรับรู้ของคนเรามากน้อยต่างกัน แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. คำพูด เนื้อหา ข้อความ มีผลต่อการรับรู้ของเราเพียง 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
2. น้ำเสียง โทนเสียง เช่น เสียงแหลม เสียงทุ้ม เสียงเข้ม เสียงกระซิบ หรือเสียงหวาน ๆ เหล่านี้มีผลต่อการรับรู้ของเรา 38 เปอร์เซ็นต์
3. สัดส่วนที่ส่งผลต่อการรับรู้มากที่สุดคือ สีหน้า ท่าทาง ภาษากาย เช่น มือชี้ไปชี้มา กอดอก ส่ายหน้า เม้มปาก หรือถอนหายใจ มีผลมากถึง 55 เปอร์เซ็นต์
จากกรณีดังกล่าวทำให้เราเห็นถึงองค์ประกอบที่ทำให้เราเกิดการรับรู้สิ่งที่ผู้ผู้ต้องการที่จะสื่อสาร การทำงานของหูคือการจับถึงเสียงในการพูดหรือการกระทำที่สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้สื่อสาร
----------------------------------------
การได้ยินและการฟังทำให้เกิดผลลัพธ์และความเห็นที่แตกต่างแม้จะเป็นการรับรู้ต่อสิ่งเดียวกัน การพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดประเภทในการฟัง Tom Rice กล่าวว่า “ประเภทของการฟังและเงื่อนไขในการฟังได้พัฒนาควบคู่ไปกับการสร้างเทคโนโลยีเสียง” ในปัจจุบันมีเสียงที่ผ่านสื่อจำนวนมาก และบริบทในการฟังที่หลากหลายส่งผลให้เราเห็นถึงการฟังและความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากการฟังที่แตกต่างกันไป
Tom Rice ยกตัวอย่างสถานการณ์ในการฟัง 4 สถานการณ์โดยเปลี่ยนบทบาทการเป็นผู้ฟังที่แตกต่างกันไป ได้แก่
1. การฟังในบทบาทของการเป็นผู้ฟังเพียงอย่างเดียว (Listen in) โดยRice ยกตัวอย่างการฟังชนิดนี้ในการฟังเช่น “การแพร่กระจายของวิทยุกระจายเสียงและการเข้าร่วมของวิทยุและผู้ชมเพื่อรับสัญญาณและรายการ และยังหมายถึงการแอบฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ซึ่งเป็นไปได้หลังจากการสร้างชุมสายโทรศัพท์และสายปาร์ตี้” การฟังในชื่อ Listen in นั้นคือการฟังที่ในปัจจุบันมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่น การฟังหรือดูวิดิโอในอินเทอร์เน็ต การฟังพอดแคสต์ (Podcast) ต่าง ๆผ่านโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. การฟังในบทบาทของการสื่อสารโดยตรงกับอีกบุคคลหนึ่งเกิดความรู้สึกร่วมและสามารถให้ข้อคิดเห็น (Listening to) มีความหมายว่า “การให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับสิ่งที่บุคคลนั้นพูดและมักอธิบายถึงมุมมองในการมีส่วนร่วมที่แสดงความเห็นอกเห็นใจเห็นใจ หรือเห็นอกเห็นใจ อย่างไรก็ตามอาจมีความรู้สึกที่เรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังด้วยเสียงหรือโดยบุคคลหรือกลุ่มคน” การฟังในกรณีนี้มักเกิดขึ้นในการประชุมหรือการพูดคุยระหว่างบุคคล ทำให้นำไปสู่บทสทนาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. การฟังในบทบาทของการเรียกร้องหรือมีความจำเป็นที่จะต้องฟัง (Listening up) โดยมีการอธิบายบริบทของการฟังชนิดนี้ว่า “จำเป็นต้องให้ความสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำสั่งที่กำลังจะสื่อ” การฟังประเภทนี้มีความต้องการที่จะจูงใจ เรียกความสนใจ หรือโน้มน้าวจิตใจของผู้รับฟังให้คล้อยตามสิ่งที่ผู้ฟังได้ยิน
4. การฟังผ่านร่างกายของตนเอง (listening to your body) หมายถึงการเข้าร่วมเพื่อแสดงสัญญาณที่บ่งบอกถึงสภาพหรือความต้องการของร่างกาย มุมมองการฟังดังกล่าวมุ่งเน้นการสำรวจการฟังโดยการฟังและสำรวจความต้องการและความรู้สึกของตนเอง
อ้างอิง: https://thepotential.org/knowledge/theory-u/, สืบค้นในวันที่ 24 ธันวาคม 2563
เพ็ญจุรี วีระธนาบุตร, ฟังให้เป็นฟังอย่างไร, ฟังสร้างสุข: Listen with Your Heart, P.32
Jonathan Sterne, Tom Rice, hearing, Keyword in sound, P.100
รูป:https://www.researchgate.net/figure/Theory-U-One-Process-Six-Leadership-Capacities-Source-Scharmer-2009_fig1_327319559
Comments