“ฟัง” เสียงประสานและสุญญากาศ
- chamamaskae
- Oct 20, 2020
- 1 min read
Updated: Oct 21, 2020
“ฟัง” เสียงประสานและสุญญากาศ: หลักฐานการฟังในสมัยไพธากอรัส การเดินทางของเสียงในมุมมองของเซอร์ฟรานซิส เบคอน และประสบการณ์ฟังเสียงทรีโอของเบนโธเฟ่นของนายแพทย์จอห์น เลอกองท์

ผู้อุปถัมภ์คีตการแห่งยุคกลางที่ปรากฎอยู่ในภายสลักที่วิหารชาร์ตรส์ (Cathédrale de Chartres) ไม่ใช่คีตกวีชาวครืสเตียนในยุคแรกๆ ทว่าคือไพธากอรัส (Pythagoras) นักปรัชญาที่มีแนวคิดนอกรีต ซึ่งกำลังนั่งฟังเสียงดนตรีทางโลกเพียงอย่างเดียว แต่อันที่จริงแล้ว บรรดานักปราชญ์ที่วิหารชาร์ตรส์ต่างทราบดีว่าท่านกำลังฟังเสียงดนตรีแห่งสรวงสวรรค์ที่ผู้อื่นไม่ได้ยิน เสียงก็เหมือนแสงที่มีประวัติศาสตร์ในแง่มุมทางธรรมเช่นเดียวกับโลก และมีเส้นทางโคจรที่เดินคู่กันมากับแสง ตำนาน คาเลวาลา (Kalevala) ของชาวฟินแลนด์กล่าวว่าโลกอุบัติขึ้นจากเสียงเพลง แต่ก่อนที่เสียงจะเป็นฐานอ้างอิงให้กับแสงที่เป็นสสารได้ดังที่ออยเลอร์ (Leonhard Euler) อุปมาไว้ เสียงจะต้องปลดเปลื้องตัวมันเองออกจากธรรมชาติที่เป็นจิตวิญญาณให้ได้เสียก่อน

การค้นพบว่าการเดินทางของเสียงต้องอาศัยตัวกลางที่เป็นสสาร รวมทั้งการค้นพบอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่นการตรวจวัดและการคาดคะเนความเร็วของเสียงที่แม่นยำ ล้วนเป็นสิ่งที่ผูกมัดเสียงให้อยู่กับโลกได้สำเร็จ (คือให้มันเป็นเรื่องทางโลกไม่ใช่เรื่องทางจิตวิญญาณ) จินตนาการทางวิทยาศาสตร์มองว่า เสียงคือปรากฎการณ์สสารที่มีลักษณะเป็นกลศาสตร์ เซอร์ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ได้เขียนไว้ว่า “ที่ผ่านมา การศึกษาธรรมชาติของเสียงที่มีลักษณะเฉพาะตัวกระทำกันอย่างผิวเผินมาก” และ “เสียงก็ยังคงเป็นธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนที่สุดอย่างหนึ่ง” เสียงเกิดขึ้นได้อย่างไรทางกายภาพ? และธรรมชาติของเสียงเป็นเช่นไรขณะที่มันกำลังเดินทางผ่านไปในอากาศ?

หลังจากสมัยกาลิเลโอไปแล้วเป็นเวลาสองร้อยปี และเป็นเวลานานหลังจากที่หลักการเรื่องความสั่นสะเทือนของเสียงเป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป ในที่สุดหลักการนี้ก็เป็นที่ประจักาษ์ต่อสายตาอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดระหว่างการแสดงคอนเสิร์ตทรีโอของเบนโธเฟ่น ขณะที่นายแพทย์จอห์น เลอกองท์ (John Leoconte) กำลังฟังทรีโออยู่นั้น เขาเบนความสนใจไปที่ตะเกียงแก๊สสองดวงซึ่งตั้งอยู่ใกล้เปียโน เปลวของตะเกียงดวงหนึ่งดูเหมือนจะเต้นไป พร้อมกันพอดิบพอดีกับเสียงดนตรี แม้แต่เวลาที่เชลโลเล่นโน้ตรัว เปลวไฟก็กระเพื่อมตามอย่างงดงาม จนแม้แต่ “คนหูหนวกก็อาจมองเห็นเสียงประสานได้ด้วยการอนุมานจากเปลวเทียน” แรงสั่นสะเทือนของเสียงที่ซ่อนอยู่ได้ปรากฎต่อสายตาในรูปของ “เปลวงเพลิงที่อ่อนไหว”
ที่มา:
หนังสือไล่คว้าแสง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับแสงตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ถึงยุคไอน์สไตน์
รูปจาก:
Comments