เฮเลน เคลเลอร์: สิ่งที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง
- chamamaskae
- Nov 16, 2020
- 1 min read
Updated: Dec 27, 2020
การวิจัยเด็กที่หูหนวกและบกพร่องทางการได้ยินแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการเห็นอกเห็นใจและสานความสัมพันธ์ของเด็กเหล่านี้ลดลง ยังมีงานวิจัยอย่างละเอียดในเรื่องผลเสียทางด้านอารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรมที่เกิดกับคนที่สูญเสียการได้ยินในภายหลังด้วย เฮเลน เคลเลอร์ (Helen Keller) กล่าวว่า

"ฉันหูหนวกพอ ๆ กับที่ตาบอด...การไม่ได้ยินเสียงคือชะตากรรมที่เลวร้ายกว่ามาก เพราะมันหมายถึงการสูญเสียตัวกระตุ้นที่สำคัญที่สุดไป นั่นคือเสียงที่นำมาซึ่งภาษาปลุกเร้าความคิด และทำให้เราคบค้าสมาคมทางปัญญากับมนุษย์ได้"
แต่เรื่องสำคัญที่ควรต้องเน้นย้ำคือ การได้ยินไม่เหมือนกับการฟัง การไดยินเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อน การได้ยินคือการถูกกระทำ การฟังคือการกระทำ ผู้ฟังที่ดีที่สุดตั้งใจและเอาสัมผัสอื่น ๆ มาใช้ในการฟังด้วย สมองทำงานอย่างหนักเพื่อประมวลข้อมูลที่เข้ามาและค้นหาความหมายซึ่งจะเปิดประตูไปสู่ความสร้างสรรค์ ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจลึกซึ้ง และความรู้ความเข้าใจคือเป้าหมายของการฟัง และมันต้องใช้ความพยายามอย่างสูง
"ผู้คนเริ่มว้าเหว่เพราะขาดการฟัง" นักวิจัยด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยาเริ่มเตือนเรื่องการแพร่ระบาดของความเหงาในสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญกำลังเรียกมันว่าวิกฤตสุขภาพ เพราะความรู้สึกแปลกแยกและโดดเดี่ยวเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้มากพอกับโรคอ้วนและโรคพิษสุราเรื้อรังรวมกัน ผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นนั้นเลวร้ายยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ 40 มวนต่อวัน
วัฒนธรรมของเราทำให้การฟังเป็นเรื่องยาก แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด เพราะหลายคนมีประสบการณ์การถูกละเมิดหรือถูกทอดทิ้งขณะเติบโตขึ้นมา เนื่องจากคาดว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือไม่ก็ดูถูก พวกเขาจึงพัฒนาการวิธีการต่อต้านการฟังขึ้นมา โดยการไม่สนใจหรือไม่ก็พูดสวนกับคนอื่นแบบไม่รู้ตัว
หรือหากเราสังเกตแง่มุมทางธรรมชาติจะพบว่า วิวัฒนาการสร้างให้เรามีเปลือกตาเพื่อที่จะได้ปิดตาเอาไว้ แต่ไม่ได้มีโครงสร้างแบบเดียวกันนี้สำหรับปิดหูนั่นบ่งบอกว่า การฟังสำคัญต่อการอยู่รอดของเราเป็นอย่างยิ่ง.
อ้างอิง: ทำไมเราไม่ฟังกัน: สิ่งสำคัญที่หล่นหายเมื่อเราไม่ตั้งใจฟัง
ที่มาของรูป: https://www.hki.org/helen-kellers-life-and-legacy/
コメント