Men & CLOCKS :
A brief history of TEMPORAL GEOMETRY
เวลาหมุนและเดินเป็นวงกลม
ดั่งเช่นโลกและดวงจัทร์
ซึ่งยังคงหมุนไปอย่างไร้แรงโน้มถ่วง
สิ่งนั้นคือ zoetrope เล็กๆของจักรวาลอันยิ่งใหญ่
ยังคงหมุนไปไม่มีหยุดพักและเหนื่อยอ่อน
ต้นไม้เริ่มผลิใบ ดอกไม้เริ่มเปลี่ยนสี
ฤดูกาลเปลี่ยนผ่าน เสมือนคนที่เปลี่ยนไป
ผู้ประพันธ์เริ่มเขียนเพลง นักเดินทางเริ่มสำรวจ
ทุกคนเล่าขานสิ่งที่ตนทำในเวลาที่ผ่านไป
ผ่านผลงาน ผ่านการเดินทาง ผ่านเวลา
ในขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
ในช่วงที่โลกกับดวงอาทิตย์ได้หมุนไปเรื่อยๆอย่างช้าๆ
เหมือนนักเต้นรำบนฟลอร์ใหญ่
ดวงดาวที่เป็นบริวารคือผู้คนที่รอดูบนฟลอร์
ในขณะที่ห้วงอวกาศที่กว้างใหญ่ ไร้ขอบเขต ไร้น้ำหนัก
ทุกดวงดาวคือวันและเวลาที่ผ่านไป
ดวงดาวยามค่ำคืนเสมือนอยู่ประดับบนม่านดำเมื่อการแสดงชีวิตจริงจบใน 1 วัน
และดวงอาทิตย์ที่ทำหน้าที่ปลุกให้เราตื่นได้เสมอเสมือนม่านโปรงแสงในเวลาเช้า
ในขณะที่นักประพันธ์ที่บันทึกเรื่องราว
บนท้องฟ้าเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสงสัย
คำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบ
เรื่องราวผ่านท่วงทำนองเล่าขานในเพลง nocturnes ในช่วงยามค่ำคืน
นาฬิกาติ๊กตอก บอกเวลาที่ผ่านไป
ทุกคนต่างเล่าเรื่องการเดินทางของตนเอง
สิ่งที่พบผ่าน...สิ่งที่จากไป...



วิวัฒนาการหลายพันล้านปีก่อน มนุษย์ผ่านการเรียนรู้อันแยบคายของธรรมชาติ ที่นำไปสู่เรื่องราวของความเชื่อ ศิลปะ และวัฒนธรรม โลกยังคงหมุนรอบดวงอาทิตย์อย่างเงียบ ๆ ในอวกาศที่กว้างใหญ่ ที่ซึ่งมนุษย์ได้พยายามให้คำจำกัดความกับสิ่งเหนือจินตนาการนี้ว่า “สถานที่ไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วง”
ปรากฏการณ์การหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลกนับเป็นอีกหนึ่งการเริ่มต้นของเวลา เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในสุริยะจักรวาลที่ยิ่งใหญ่นั้นสิ่งที่เราสามารถรับรู้และยืนยันได้นั้นคือการมีอยู่และเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และฝุ่นผงในอวกาศ
การแสดงในครั้งนี้ฉันตีความ Caprices ท่อนที่ 1 (Largo) ประพันธ์โดย Campagnoli ไว้ว่าท่วงทำนองที่เกิดจากเครื่องดนตรีวิโอล่านั้น เกิดจากจังหวะที่ผู้แสดงเล่นซึ่งเกิดจากการทำงานของเครื่องดนตรีวิโอลาเพียงชิ้นเดียว อาศัยท่วงทำนองและจังหวะที่สอดประสานไปด้วยกัน ไร้ซึ่งเครื่องดนตรีอื่นโต้ตอบด้วย สิ่งนี้ไม่แตกต่างอะไรกับการเคลื่อนที่อย่างโดดเดี่ยวเป็นการโคจรที่ไม่มีอะไรกีดขวาง นอกเสียจากฝุ่นผงในอวกาศ ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ในช่วงเวลาที่คัมปัญโยเล่กำลังเขียนเพลงนี้อยู่นั้น เรื่องราวบนท้องฟ้ายังเต็มไปด้วยคำถามที่ยังไม่ได้รับคำตอบ มีเพียงดวงดาวเท่านั้นที่จะไขปริศนาสิ่งที่อยู่รอบตัวของพวกเขา
ในประวัติศาสตร์มนุษย์ได้ประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้รูปแบบตามธรรมชาติของพระอาทิตย์และแสงจากดวงอาทิตย์เพื่อบ่งบอกถึงเวลา โดยมนุษย์ค่อนสังเกตุการเปลี่ยนผ่านระหว่างแสงและความมืด ที่ยืนยันการมีอยู่ของเวลาได้ เช่นนาฬิกาแดดที่แสดงถึงเวลาที่ผ่านไปและการแปลผ่านฤดูที่ซับซ้อน สิ่งนั้นทำให้เราได้เข้าใจถึงการรับรู้เวลาและใช้ประโยชน์จากการเกิดของเวลานั้นๆ
หลายปีถัดมา นักดาราศาสตร์ได้พัฒนาสิิ่งประดิษย์ที่ยืนยันการมีอยู่ของเวลา ตัวอย่างเช่น หอนาฬิกาดาราศาสตร์ (“Orloj”) ย่านเมืองเก่า ในกรุงปราก สิ่งนี้ไม่เพียงแสดงถึงความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมของปรากเท่านั้น แต่กลไกที่ซับซ้อนของมันได้แสดงถึงการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์ ซึ่งบ่งบอกถึงวันและเวลาเหนือไปกว่าข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์นั้น เiราก็ได้พยายามตีความความลึกลับของอวกาศผ่านเสียงดนตรี ศิลปะ และบทกวี คีตกวีชาวเชค คาลิลโวดา (Kalliwoda) ได้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่กับการเดินทางบริเวณภูมิภาคยุโรปและ ได้จดบันทึกและอธิบายถึงบรรยากาศยามค่ำคืน ในบทประพันธ์น็อคเทิร์น (6 Nocturnes) ทั้ง 6 ท่อน ซึ่งฉันจะบรรเลงในการแสดงครั้งนี้ ด้วยท่วงทำนองของบทประพันธ์ที่วนซ้ำที่ราวกับกิจวัตรในการโคจรรอบระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ผ่านมวลในอวกาศ ฝุ่นผงที่รวมตัวกันเป็นสไปรัล (Spiral) บางท่วงทำนองบางท่อนนั้นมีความสนุก แสงสว่าง ที่เปรียบได้กับดวงดาวระยิบระยับบนท้องฟ้า กลุ่มดวงดาวที่เป็นบริวารของโลก แสงที่สาดแสงส่องมายังโลกนั้นแม้จะทำหน้าที่ให้แสงสว่างเพียงเล็กน้อย ถึงแม้มิอาจเทียบความยิ่งใหญ่ได้เท่าพระอาทิตย์ในตอนกลางวัน แต่ยิ่งใหญ่พอที่จะสว่างอย่างพอดีในตอนกลางคืน.
บทประพันธ์น็อคเทิร์น (Nocturnes) ทั้ง 6 ท่อนนั้น จะถูกนำเสนอถึงช่วงเวลาที่แตกต่างกันในแต่ละชั่วโมงผ่านบทประพันธ์ทั้ง 6 ท่อน โดยเปรียบกับเวลาเที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้า ผ่านการนำเสนอผ่านผลงานศิลปะในยุคดังกล่าวและแนวคิดเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาที่ปรากฎบนนาฬิกาดาราศาสตร์ในกรุงปราก.
Billions of years ago, before the age of widespread technology, the ingenious learning of humans or the beginning of culture and arts, the earth began to rotate around the sun. Quietly in the vast space later defined later by humans as "Gravity-free space" our world started revolving around the sun.
The phenomenon of the Earth orbiting the sun marked the beginning of the existence of time and paved the way for life to begin on our planet. In the vast solar system, everything that we recognize and acknowledge is nothing more than the movement of the stars and dust in the space.
During this performance will interpret the first movement (largo) of Campagnoli’s Caprices where the viola carries out a melody set to an organic pulse reminding me of to the steady rotation of earth on his orbit around the sun, free from obstacles. The recurring melodic motives symbolise in my mind the various reappearing angles of the earth in relation to the stars. In the middle the 18th Century, when Campagnoli wrote this piece, the night sky was full of unanswered questions. Only the stars could give us the key to the mysteries enfolding around us.
The history of mankind has witnessed the invention of many devices using the natural patterns of the sun and light sun to measure time. Patiently and gradually observing the transitions between light and darkness, we found ways to establish our perception of time in relation to the natural rhythms. From sundials to the complexity of seasonal changes, we adapted our temporal structures to form the geometry of human time.
Many years later, astronomers developed inventions that perfected our measure of time with great accuracy. For example, the clock tower (‘Orloj’) in the old town of Prague in the Czech Republic not only demonstrates the architectural and cultural wealth of Prague but its complex mechanisms aesthetically reveal the solar movements that punctuates days and nights. Beyond scientific observations, we started interpreting the mysteries of the cosmos through music, art and poetry. The Czech composer, J.W. Kalliwoda spent his whole life traveling, exploring the European landscapes. He recorded and described the nocturnal atmosphere in his 6 Nocturnes that i will be performing during this recital. The recurring melodies displayed throughout the piece can be seen as symbolising the spiral accumulation of the dust in space forming the trail that follows the planets as they travel endlessly on their orbits. Perhaps those spirals follow similar patterns to the rhythms that punctuate our own daily routines or even our lifespans. In this piece, some movements are bright and joyous like the glittering stars in the night sky, which while failing to compete with the grandeur of the sun, still shine brightly into the depth of the night.
I will illustrate each of the 6 movements of this nocturnes with contrasting visual evocations of the six nocturnal hours (0.00 a.m - 6 a.m) as depicted through the arts of that era and the cosmological iconography connected to The Prague astronomical clock.


