top of page

Zoetrope & Stop motion

stop motion 

เป็นอีกหนึ่งเทคนิคทางภาพยนต์โดยใช้หลักการหยุดและการเคลื่อนไหวในการทำงาน ภาพบางภาพที่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยติดต่อกัน อาจก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่แตกต่างออกไป อาจดูฝืนธรรมชาติในการเคลื่อนไหวเล็กน้อย สิ่งเล็กๆที่เกิดการเคลื่อนไหวเช่นการเดินของม้า ฝีเท้าของม้าที่ค่อยๆขยับเริ่มจากฝีเท้าที่ค่อยๆเริ่มยกและลำตัวที่ค่อยๆโน้มไปข้างหน้า เท้าค่อยๆยกสูงขึ้นเรื่อยๆบอกถึงความเร็วที่ค่อยเร่งขึ้นของม้าเช่นเดียวกัน มนุษย์นำการเคลื่อนไหวประเภทนี้มาบันทึกในรูปแบบของรูปภาพ ที่ถ่ายอย่างต่อเนื่องจนเห็นความเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย เมื่อนำภาพพวกนั้นมาต่อกันก็จะเกิดเป็นเทคนิคที่เรียกว่า stop motion โดยแรกเริ่มนั้น Eadweard Muybridge นักถ่ายภาพชาวอังกฤษ ถือเป็นคนคนแรกในการเริ่มถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวเล็กน้อยในหลายๆรูป หรืออาจเรียกในชื่อที่ว่า motion picture projection ผลงานที่ได้รับการบันทึกได้แก่รูป The Horse in Motion ในปี 1878 

ต่อมาในปี 1888 Louis Le Prince ชาวฝรั่งเศสได้จดสิทธิบัตรการออกแบบกล้องถ่ายภาพครั้งแรก แน่นอนว่านี่เป็นกล้องที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการถ่ายภาพเท่าที่ควร แต่กล้องตัวนี้ท้ายสุดแล้วได้แสดงให้เห็นถึงหลักการพื้นฐานของภาพเคลื่อนไหวในช่วงแรกๆที่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ ต่อมาใกล้ๆกันในปี 1889  Friese-Greene ชาวอังกฤษ ได้จดสิทธิบัตรกล้องถ่ายภาพที่เรียกว่า กล้อง Chronophotographic  ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 ภาพใน 1 นาทีโดยใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์ปรุ ต่อมาในปี 1891 และพนักงานของ Thomas Edison ชื่อ William Kennedy Laurie Dickson ได้ออกแบบและสร้างกล้อง Kinetographic กล้องนี้มีมอเตอร์ไฟฟ้าและพิสูจน์แล้วว่าเชื่อถือได้มากขึ้นจากรุ่นก่อนๆ อย่างมากทีเดียว และในปี 1894 มีการค้นพบกล้อง Lumiere Domitor ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย Charles Moisson สำหรับ Lumiere Brothers เมื่อมาถึงจุดนี้ในการสร้างภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นและสำหรับผู้ที่ไม่รู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ และต่อมาอุตสาหกรรมกล้องและภาพยนต์ก็ได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ เทคนิคstop motion ก็ยังคงเป็นที่นิยมในเทคนิคการสร้างอนิเมชั่นต่างๆในเวลาต่อมา

William Friese-Greene (1889)

Dickson และกล้อง Kinetographic (1891)

-The Evolution of Stop Motion Animation-
ในช่วงประมาณปี 1890 Georges Dement ชาวฝรั่งเศส เขาได้ทำให้คนได้รู้จักกับการพัฒนาของเทคโนโลยี Phonoscope ที่พัฒนามาจากไอเดียของ Etienne-Jules Marey หนึ่งในบุคคลที่เคยทำงานร่วมกับ Eadweard Muybridge เมื่อครั้นที่ Muybridge มาทำงานที่ California ซึ่ง Marey ที่ได้ทำการเก็บรูปที่ถูกอัดลงในกระดาษยาว และคลี่ออกเพื่อแสดงสู่เลนส์ ผลงาน Phonoscope ของ Dement จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสาธิตในเรื่องการขยับปากสำหรับผู้ที่พิการทางการได้ยินและพูดไม่ได้เพื่อเรียนรู้ที่จะฝึกพูด

เทคนิคการทำstop motion หรือภาพเคลื่อนไหวนั้น ต่อมาได้มีการคิดวิธีการทำให้ง่ายขึ้น เช่นการทำโดบไม่ใช้กล้องถ่ายรูปแต่เป็นการทำในรูปแบบของการวาดใส่สมุดโดยแต่ละหน้ามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ถูกทำให้เคลื่อนไหวโดยการคลี่กระดาษษด้านข้างออกอย่างรวดเร็ว วิธีนี้ก็ถือเป็นstop motionอีกรูปแบบหนึ่ง

สำหรับในวงการภาพยนต์สมัยใหม่แล้วการทำการ์ตูนหรือภาพยนต์บนเทคนิคstop motionอาจเกิดได้ง่าย แต่ก่อนหน้านั้นนมนุษย์เราได้พยายามพัฒนาสร้างเทคนิคที่น่าสนใจทางภาพยนต์หลายอย่าง อีกเทคนิคซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่18 เช่นเดียวกับการกำเนิดกล้องและการถ่ายภาพประเภท motion picture  ซึ่งได้แก่เทคนิคที่เรียกว่า Zoetrope 

Zoetrope 

1860 - THOMAS ROSE

เขาประสบความสำเร็จในการสร้างภาพ 3D เคลื่อนไหวได้สำเร็จโดยใช้เทคนิคPhenakistoscopeซึ่งเป็นการลวงตาด้วยภาพเคลื่อนไหว โดยใช้กล้อง 100 ตัวในการถ่ายภาพเป็น Stereoscopic หรือการถ่ายวัตถุที่กำลังค่อยๆเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลง 

1860 - PIERRE HUBERT DESVIGNES

เขาได้ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพ Stereoscopic ในรูปแบบใหม่ๆซึ่งก็มีแนวคิดที่ใกล้เคียงกับการทำงานของzoetropeผลงานอันเลื่องชื่อของเขาก็คือการทำงานกับหนังสือประเภท Flip Book ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมกันเสมือนเป็นของเล่นในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20 

1861 
OLIVER WENDALL HOLMES SR. (1809 - 1894)

โฮล์มส์เป็นคนแรกที่ระบุค่าของภาพถ่ายเพื่อวิเคราะห์ว่าการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงอย่างไร ในปีพ. ศ. 2404 เขาได้รายงานในภาพของฉากถนนผู้เดินเท้าที่เขาถ่ายในเวลากลางคืน เขารวบรวมภาพดังกล่าวจำนวนมากในมุมมองดังกล่าวและทำภาพวาดในรายละเอียดที่อาสาสมัครเดินในที่สุดจึงได้รับภาพที่แสดงถึงลำดับความเคลื่อนไหวของผู้คน ภาพนั้นแสดงให้เห็นถึง 'ของการเคลื่อนไหวของข้อเข่าข้อเท้าและเท้า เขาใช้การค้นพบนี้ในงานของเขาในเวลานั้น ปรับปรุงการออกแบบแขนขาเทียมสำหรับผู้พิการในสงครามกลางเมือง เขาเป็นแพทย์ที่ตั้งชื่อว่า "anaesthesia"

1864 - SPECTRAL ILLUSIONS
ภาพลวงตาและของเล่นออฟติคัลที่เป็นที่นิยมในปลายศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างของเล่นเช่น Magic Latern และ Stereoscope และของเล่นเคลื่อนไหวเช่น Zoetrope

และอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของของเล่นภาพลวงตา ในราคาประหยัดสำหรับเด็กดดยในหนังสือจะมีภาพสีต่างๆเมื่อดวงตาเรามองไปที่สีนั้นปนะมาณ2-3วินาที ทำให้ดวงตาของเราจดจำสีสีนั้นได้ สีจะถูกเก็บในข้างในดวงตาของคุณ(เรตินา)ทำให้เราจำสีและคาแร็คเตอร์ของสิ่งที่อยู่ในหน้านั้นได้ซีกครู่หนึ่งและเมื่อเราเปิดไปอีกหน้าหนึ่งก็จะทำให้เราเห็นสีและคาแล็กเตอร์ของหน้าเมื่อซักครู่ได้ นี่คือเทคนิคของภาพที่อาศัยการลวงตา 

1867 - WILLIAM F. LINCOLN 
วงล้อแห่งชีวิตที่อยู่ประดิษฐ์ขึ้นมาซึ่งต่อมาได้รู้จักกันในชื่อของ "Zoetrope" ได้เป็นที่รู้จักในอเมริกา และมีการจดสิทธิบัตรโดย Lincoln. ซึ่ง Lincoln ไม่ได้มีปัญหาที่สิ่งประดิษฐ์ของเขาถูกเรียกในเวลาต่อมาในชื่อ ของ "Zoetrope" ชื่อนี้ได้ถูกนำมาจากภาษากรีก คำว่า "zoo" หมายถึง "ชีวิต" และ"trope" หมายถึงการหมุนกลับ.

ในสหรัฐอเมริกาZoetrope ของ Lincoln ได้ถูกผลิตในบริษัทที่มีชื่อว่า "the Milton Bradley Company of Massachusetts" โดยลักษณะจะมีความคล้ายกับกลองที่ประยุกต์กับการมองเห็นเป็นภาพจากรูปในกระดาษอยู่ด้านในตัวกลอง โดยภาพจะเคลื่อนไหวผ่านช่องเล็กๆบริเวณรอบๆกลองเมื่อวัตถุถูกหมุน ซึ่งต่อมา Zoetrope ได้พัฒนาโดยอยู่ในรุปของวงกลมมีลักษณะใกล้เคียงกับแผ่นดิกส์.  (ดังตัวอย่างด้านล่างสุด)

The Zoetrope of Lincoln

1868 - JOHN BARNES LINSTET
Linnets พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Kineograph  มันจะมีความคล้านกับหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อวางในแนวตั้ง และเปิดหนังสือเร็วจะได้เห็นการเคลื่อนไหวของรูป เขาเรียกเทคนิคนี้ว่า "optical illusion" และได้จดสิทธิบัตรโดยให้คำบรรยายไว้ว่า"การปรับปรุงวิธีการผลิตภาพลวงตา...โดยการผลิตภาพลวงตาทางแสงโดยการนำเสนอภาพต่อเนื่องอย่างรวดเร็วในรูปแบบของวัตถุที่เป็นตัวแทนของวัตถุในตำแหน่งที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งที่พวกเขาครอบครองเมื่ออยู่ในสภาวะเคลื่อนไหวและทำให้เกิดการแสดงผลของการเคลื่อนย้ายวัตถุ "

bottom of page