Program note

Johann Wenzel Kalliwoda (1801 - 1866)
โจฮาน เว็นเซล คาลิลโวดา
คาลิลโวดา เกิดในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1801 ในกรุงปราก โดยใช้ชีวิตในฐานะนักประพันธ์ชาวโบฮีเมีย และนักไวโอลิน ช่วงชีวิตเติบโตในกรุงปรากและทำงานบางส่วนที่ประเทศเยอรมนี และคาลิลโวดา ได้เข้าศึกษา ณ สถาบันดนตรีแห่งกรุงปราก (Prague Conservatory) ในปี 1811 โดยในปีดังกล่าวศึกษาไวโอลิน กับ ฟรีลดิก วิลเฮม ฟิคซิส (Friedrich Wilhelm Pixis) อีกทั้งได้ศึกษาวิชาทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์กับ เบ็ตจีค ดีเวท เวเบอร์ (Bedřich Diviš Weber) คาลิลโวดาเรียนจบด้วยคะแนนเกียรตินิยม ต่อมาในปี 1816 คาลิลโวดาได้เข้าทำงาน ณ วงออร์เคสตราโรงละครกรุงปราก (Prague Theatre Orchestra) และในปี 1821 คาลิลโวดาเริ่มออกแสดงในประเทศอื่นๆ ใกล้เคียง อาทิเยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์
ราวในปี 1861 คาลิลโวดา ได้ดำเนินอาชีพนักดนตรี ที่เมืองโดเนาเอสชิงเง่น (Donaueschingen) ในประเทศเยอรมนี โดยได้มีบทบาทอย่างมากในฐานะของนักประพันธ์ และงานที่สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก ในช่วงปี1826 คาลิลโวดาผลงานการประพันธ์ที่ชื่อว่า บทประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 1 ผลงานลำดับที่ 7 ออกแสดงครั้งแรก ๆ โดยได้ถูกบรรเลงบทประพันธ์ดังกล่าว ณ เมืองไลป์ซิก และ กรุงปรากอีกด้วย ในเวลาต่อมาคาลิลโวดาได้ถูกรับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ใน (Musical Societies) ในเยอรมัน สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และโบฮีเมีย ในช่วงหลังการปฎิวัติในช่วงปี 1848 ทำให้ คาลิลโวดา ต้องย้ายออกจากเมือง คาร์ลสรูเออ ในเดือนกรกฎาคมเป็นครั้งสุดท้ายที่เขาได้ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงปราก คาลิลโวดาได้ทำหน้าที่เป็นวาทยากรในการแสดงของเขาในบทเพลงโหมโรง โอเวอเจอร์ หมายเลข 15 ในบันไดเสียง อี เมเจอร์ ผลงานลำดับที่ 226 ในโอกาสการฉลองจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงการก่อตั้งสถาบันดนตรีแห่งกรุงปรากหลังจากนั้นเขาได้ออกจากกรุงปรากและเดินทางเข้าสู่เมืองคาร์ลสรูเอออีกครั้ง ในปี 1866 และเขาก็ได้เสียชีวิตลงที่นั้นในวันที่ 3 ธันวาคม 1866
สำหรับบทประพันธ์ 41 Nocturnes Op. 186 ที่บรรยายถึงช่วงเวลาตอนกลางคืนนั้น ฉันได้นำเสนอบทประพันธ์นี้ในมุมมองที่เกี่ยวกับเรื่องราวของดาราศาสตร์ และ ความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา โดยใช้การตีความผ่านงานศิลปะในยุคศตวรรษที่ 19 แสงไฟจากเทียนไขให้ความสว่างไม่นานเท่าไหร่ก่อนที่ระบบไฟฟ้าจะเข้ามาทำให้เราลืมที่จะเงยหน้ามองขึ้นท้องฟ้าเพื่อดูดวงดาวที่ส่องแสงสว่าง
ในบทเพลงนี้ฉันรู้สึกถึงภาพสไปรัล (Spiral) ผ่านท่วงทำนองที่ซ้ำไปมาของบทเพลง การหมุนของดวงดาวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวันและเวลาในตอนกลางคืน เช่นเดียวกับการหมุนวนของฝุ่นผงในอวกาศ ตำแหน่งของดวงดาวสามารถบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของวันและเวลา ที่สามารถเห็นได้ในตอนกลางคืน โดยผ่านเครื่องมือชนิดหนึ่ง ดังเช่น นาฬิกาดาราศาสตร์ในกรุงปราก ซึ่งถือเป็นเมืองที่คาลิลโวดาถือกำเนิดขึ้นมา บทประพันธ์นี้บรรยายถึงการเดินทางของเวลา และช่วงเวลากลางคืน โดยตัวเลขแต่ละท่อนแสดวงถึงตัวเลขบนนาฬิกาซึ่งค่อยๆเปลี่ยนไปในแต่ละท่อน แสดงให้เห็นถึงการเดินทางผ่านเวลา และรู้สึกถึงความประทับใจในการเดินทางผ่านบทประพันธ์นี้
Johann Wenzel Kalliwoda was born on 21st February, 1801 in Prague. He was a Bohemian composer and violinist who grew in Prague and worked in Germany. Kalliwoda studied in Prague Conservatory in 1811. He studied violin with Friedrich Wilhelm Pixis and music theory and composition with Bedřich Diviš Weber. From 1816 he had the opportunity to attend the Prague Theatre Orchestra and traveled in other countries such as Germany, Switzerland, and Netherland.
In 1861, Kalliwoda worked as a musician in Donaueschingen in Germany. There, he was known as a composer. His best known work was Symphony No. 1 premiered in Leipzig. Later, he was part of established musical societies in Germany, Sweden, Netherland and Bohemia. After the revolution in 1848 he moved to Karlsruhe. He then lived in Prague where he worked as a conductor. He performed his ‘Overture No. 15 in E major, Op. 226’ for the festivities held in commemoration of the founding of the conservatory. He retired from Karlsruhe in 1866 and died there later that year.
As the 41 Nocturnes Op. 186 are about night time, i chose to interpret this music visually connecting it to astronomical and cosmological beliefs depicted on the Prague Clock in the birthplace of the composer. I will also include interpretations of nocturnes atmospheres found in the arts of the nineteenth century, a candle lit era not long before electricity made us forget to look up at the stars.
In this music, i perceive spirals through the repeated melodies. The position of the stars telling us our position within the solar calendar can be detected at night time only through the use of mechanical apparatus such as the Prague Astronomical Clock. The Nocturnes, Op. 186 is a nocturnal journey where each movement symbolises the number on the clock which gradually changes to reveal the passing of time.
Bartolomeo Campagnoli ( 1751 - 1827)
บาร์โตโลมีโอ คัมปัญโยเล่
คัมปัญโยเล่เกิดที่เมือง โบโลนญ่า ในประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1751 เป็นนักประพันธ์และนักไวโอลินชาวอิตาลี ครูคนแรกของคัมปัญโยเล่เป็นนักไวโอลินที่มีชื่อว่า ดาลโอชา (Dall'Ocha) ต่อมาในปี 1763 พ่อของเขาได้ส่งเขาไปที่เมือง โมเดนา ในประเทศอิตาลีเช่นเดียวกัน เพื่อศึกษาต่อกับ กาอุสตาโรบบา (Guastarobba) ในปี 1766 คัมปัญโยเล่ได้เดินทางกลับบ้านและได้เข้าเป็นนักดนตรีของวงดุริยางค์ท้องถิ่น และต่อมาในปี 1775 คัมปัญโยเล่ได้ไปพบกับ เพียตโต นาดินี (Pietro Nardini) และศึกษาวิชาไวโอลินกับนาดินี ซึ่งเป็นนักไวโอลินชาวอิตาเลียนที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น คัมปัญโยเล่ได้เดินทางต่อไปยังกรุงโรมและหลังจากนั้นเขาได้รับโอกาสในการเดินทางในเส้นทางสายดนตรีบ่อยขึ้น ทำให้ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวงดนตรีสถาบันดนตรี ของประเทศสวีเดน (Royal Academy of Music)ต่อมาคัมปัญโยเล่ก็กลายมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการดนตรี และเขาได้จัดตระเวนออกแสดงดนตรีอยู่เป็นประจำทั้งในสวีเดน อิตาลี เยอรมันนี ฯ
ในปี 1797 หลังจากการเสียชีวิตของท่านดยุคแห่งคูร์แลนด์ (courland) คัมปัญโยเล่ได้ย้ายให้เข้ามาทำเป็นผู้อำนวยการดนตรีที่วงออร์เคสตราแห่งเกวันด์เฮาส์ (Gewandhaus Orchestra) ที่เมืองไลป์ซิก ณ ประเทศเยอรมันนี ณ ที่แห่งนี้เขาจึงได้เริ่มทำทัวร์คอนเสิรต์อีกครั้ง ในกรุงปารีส กรุงแฟรงค์เฟิร์ตฯ คัมปัญโยเล่ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1827 ณ เมืองนอยสเตรลิทส์ (Neustrelitz)
คัมปัญโยเล่ได้ประพันธ์ The 41 Caprices for viola เพื่อให้เป็นแบบฝึกหัดแก่ลูกศิษย์ของเขาเพื่อใช้ในการสอนและการฝึกซ้อม โดยการแสดงในครั้งนี้ฉันจะตีความบทเพลงนี้ในท่อนที่ 1 ซึ่งเป็นการบรรเลงเดี่ยว การเล่าเรื่องเพลงนี้เกิดจากการบอกเล่าผ่านเครื่องดนตรีเดียว ผ่านการทำงานของท่วงทำนองและจังหวะ ไร้ซึ่งการโต้ตอบของเครื่องดนตรีอื่น ฉันเปรียบการทำงานของเครื่องดนตรีกับการโคจรระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ในอวกาศ ที่ไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่โคจรไม่มีอะไรกีดขวาง การโคจรยังคงมีอยู่ตราบใดที่ยังมียืนยันของการโคจร เฉกเช่นเดียวกับบทเพลง
Bartolomeo Campagnoli was born on 10th November, 1751 in Bologna, Italy. He was an Italian violinist and composer. His first violin teacher was Dall’Ocha. In 1763 his father sent him to Modena to study with Guastarobba. Later, in 1766 he came back to his hometown and took a position in the local orchestra. In 1775 he met Pietro Nardini, the famous violinist at that time, to study violin with him. Then, Campagnoli went to Rome and work as a musician until he was chosen to be the concertmaster for Royal Academy of Music of Sweden and performed in many publical concert in Sweden, Italy, and Germany.
In 1797, after the death of Duke of Courland, Campagnoli moved to Leipzig to work as conductor of Gewandhaus Orchestra. Moving there, Campagnoli was trying to perform public concerts in Paris and Frankfurt. Campagnoli moved to Neustrelitz, where died in 7th November, 1827.
Campagnoli composed “The 41 Caprices for viola” as a study for his students. In this performance I will play the 41 Caprices for viola No. 1 which is a solo piece. I will use my viola tell a story through beautiful melodies, harmony, and rhythm, comparing this musical piece to the interrelated rhythms of the Earth and the Sun within the vast universe.
